top of page

HAIR REMOVAL


Service Description

การปล่อยพลังงานแบบพัลส์ (pulse) การปล่อยพลังงานในระดับที่สูงมากๆ เป็นจังหวะในช่วงสั้นๆ มีสามแบบ คือพัลส์สั้น พัลส์ยาว และ คิวสวิทช์ พัลส์สั้น ปล่อยพลังงานยาวนานในหน่วยของ millisecond ในจังหวะที่ปล่อยออกมาหนึ่งครั้ง พัลส์สยาว ปล่อยพลังงานยาวนานในหน่วยของ microsecond ในจังหวะที่ปล่อยออกมาหนึ่งครั้ง คิวสวิทช์ ปล่อยพลังงานยาวนานในหน่วยของ nanosecond ในจังหวะที่ปล่อยออกมาหนึ่งครั้ง แล้วแสงเลเซอร์กำจัดขนได้อย่างไร? มีกลไกอะไรบ้าง? แสงเลเซอร์จะกำจัดขนโดยการส่งผ่านพลังงานแสงเลเซอร์ไปที่รากขน โดยเมลานิน (เซลล์เม็ดสี) ที่รากขนจะดูดซับพลังงานแสง หลังจากนั้นพลังงานแสงจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่มีเซลล์เม็ดสีถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว เส้นขน รากขน และเนื้อเยื่อต่างๆที่ทำหน้าที่ผลิตขนก็จะถูกทำลายไปด้วยเช่นกันรวมถึงเนื้อเยื่อเชื่อมต่อบริเวณรากขนและเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยงด้วย (mesenchyme) ทำให้ไม่สามารถผลิต stem cells ที่ทำให้ขนงอกได้ เป็นผลให้วงจรการเกิดขนใหม่จะช้าออกไปเรื่อยๆ เส้นขนที่เกิดใหม่จะมีขนาดที่เล็กลงสีอ่อนลง และจะค่อยๆ ขึ้นน้อยลง และหากเลเซอร์ซ้ำๆ เส้นขนก็จะค่อยๆหมดไปในที่สุด การกำจัดขนโดยเลเซอร์จะได้ผลดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง? 1.ขึ้นอยู่กับพลังงานที่สูงพอ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการกำจัดขน ถ้าพลังงานสูงพอ ก็จะสามารถส่งไปถึงบริเวณรากลึกของขนในรูขุมขน ทำให้สามารถทำลายเซลล์เป้าหมายที่รูขุมขนได้ 2.ความลึกของรากขน (ความยาวคลื่นมีระดับการทะลุทะลวง (penetration depth) ลึกไปถึงรากขนหรือไม่) 3.สีผิวและสีขน (สีผิวและสีขนสีเข้ม มีเม็ดสีเยอะ ผิวขาวและขนสีอ่านมีเม็ดสีน้อย จึงเหมาะกันคลื่นที่มีความยาวต่างกัน) 4.ความยาวคลื่น (มีผลต่อพลังงานและความร้อน คลื่นยาวเหมาะกับคนที่มีสีผิวเข้ม คลื่นสั้นเหมาะกับคนผิวขาว) 5.วงจรชีวิตของเส้นขน (มีงานวิจัยพบว่า การกำจัดขนในวงจรชิวิตของขนที่ต่างกัน ให้ผลที่ต่างกัน เลเซอร์แบบ long pulse ที่เราใช้กัน ให้ผลการรักษาได้ดีในเฉพาะระยะเจริญตัว (ระยะanagen) ของเส้นขนเท่านั้น) วงรชีวิตของเส้นขน แบ่งเป็น 3 วงจร 1.ระยะเจริญ (anagen) ระยะนี้มีการแบ่งตัวของเซลล์ และมีการสร้างเม็ดสี 2.ระยะเปลี่ยนแปลง (catagen) เซลล์หยุดการแบ่งตัว และหยุดการสร้างเมลานิน บริเวณรากหดตัว เส้นขนถูกดันขึ้น 3.ระยะพักตัว (telogen) *เส้นขนในบริเวณเดียวกัน อาจอยู่ในระยะที่ต่างกันก็ได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัย ว่าทำไมเลเซอร์แล้วขนจึงขึ้นหยุมหยิมไม่เท่ากันในแต่ละส่วน* เพราะเส้นขนในบริเวณเดียวกัน อาจอยู่ในระยะที่ต่างกัน ดังนั้นเส้นขนมีการเปลี่ยนวงจรตลอด แต่มีแค่วงจรระยะเจริญ (anagen)เท่านั้น ที่สามารถตอบสนองการรักษาได้ดีกับ long pulsed laser เราจึงต้องใช้เวลาเพื่อที่จะรอให้เส้นขนในระยะอื่นๆกลับเข้าสู่ระยะเจริญ (anagen) อีกครั้ง เพื่อที่จะกำจัดขนได้ทั้งหมด


Upcoming Sessions


Contact Details

bundittsp@gmail.com


bottom of page