โบท็อกซ์ (ฺBOTOX) คืออะไร ฉีดแล้วช่วยเรื่องอะไร เหมาะกับใครบ้าง?

โบท็อกซ์ (ฺBOTOX) คืออะไร ?
โบท็อกซ์ (Botox) หรือ Botulinum toxin A เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่สกัดได้จากการสร้างของแบคทีเรีย “คลอสตริเดียม โบทูลินั่ม” (Clostridium botulinum) เชื้อโรคนี้หากได้รับมากเกินไปจะทำให้อาหารเป็นพิษหรือเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง แต่ถ้าได้รับในปริมาณน้อยๆ อย่างพอเหมาะ จะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวอันเป็นผลดีกับวงการแพทย์ ซึ่งนำมาใช้ในการรักษาโรคตาเหล่ ตาเข และยังเป็นผลดีในวงการเสริมความงาม นั่นก็คือช่วยให้ริ้วรอยต่างๆ ลดลงและกระชับผิวให้ดีขึ้น
BOTOX ช่วยเรื่องอะไร ?
การฉีด Botox จะช่วยลดริ้วรอยที่หน้าผาก รอยตีนกา ริ้วรอยรอบดวงตา ปาก ยกคิ้วขึ้นและตาดูโตขึ้น แลดูอ่อนเยาว์มากขึ้น เหมาะสำหรับใช้ปรับรูปหน้าให้ยกเรียว กระชับผิวหนัง เห็นผลไว
- สามารถแก้ปัญหาริ้วรอยได้
- ทำให้รูปหน้าเรียวเล็กลง
- เห็นผลเร็ว
- มีใบรับรอง จากองค์การอาหารและยา ทำให้สบายใจได้ ว่ามีความปลอดภัย
- ไม่ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ ก่อนเข้ารับการฉีด
- เมื่อฉีดเสร็จ สามารถทำกิจกรรม ตามปกติได้ทันที
- เพิ่มความมั่นใจให้ตัวเอง
- มีผลข้างเคียงน้อย

โบท็อกซ์ ที่ได้รับการยอมรับมี 2 ประเภท คือ
1. Premium American Toxin (Allergan)
-
Botulinum toxin A เป็นสารที่ปลอดภัย เมื่อใช้ตามคำแนะนำของแพทย์
-
ปรับกรอบหน้าได้รูป เรียวทันใจ
-
ลบเลือนริ้วรอย ผิวอ่อนเยาว์
2. Premium Korean Toxin (Neuronox)
-
ยกกระชับผิว แก้ผิวหย่อนคล้อย
-
อยู่ได้นาน 4-6 เดือน สลายหมด ไม่ตกค้าง
-
ไม่มีแผลเป็น
-
ไม่ต้องพักฟื้น
-
สามารถนำไปใช้ร่วมกับคอลลาเจน ฟิลเลอร์ หรือเลเซอร์ได้


จำนวน UNITS ที่แนะนำในการฉีด
-
ริ้วรอยบริเวณหน้าผาก = 10-30 Units
-
รอยย่นระหว่างคิ้ว = 10-25 Units
-
ริ้วรอยบริเวณโหนกคิ้ว = 2-5 Units
-
ริ้วรอยหางตา = 5-15 Units
-
รอยย่นข้างจมูก = 5-10 Units
-
กราม/กรอบหน้า = 40-60 Units
-
รอยย่นบุ๋มบริเวณคาง = 2-6 Units
-
รอยย่นมุมปากจากการยิ้ม = 3-6 Units
-
รอยย่นบริเวณลำคอ = 25-50 Units
BOTOX ฉีดจุดไหน ช่วยอะไรบ้าง?

ข้อปฏิบัติตัวก่อนฉีดโบท็อกซ์
-
หยุดใช้ยากลุ่มกรดวิตามิน A, AHA หรือวิตามินและอาหารเสริมที่จะทำให้เลือดออกง่าย
-
งดยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDS ได้แก่ Motrin, Naproxen, Brufen หรือยาแอสไพริน เป็นเวลา 1 สัปดาห์
-
งดแอลกอฮอล์
-
งดการสครับหน้าและขัดหน้า เป็นเวลา 2-3 วันก่อนการฉีดโบท็อกซ์ เพื่อลดความเสี่ยง ลดรอยฟกช้ำ และลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
-
หากมีโรคประจำตัวหรือแพ้ยา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง